
ชื่อ สันติ ลอรัชวี สัญชาติ ไทย เกิดเมื่อปี พ.ศ.2514 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สำเร็จการศึกษาจากภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
เริ่มต้นอาชีพนักออกแบบด้วยสถานะที่หลากหลายทั้งการเป็น
นักออกแบบกราฟิกให้กับบริษัทออกแบบ ก่อตั้งบริษัทของตนเอง
รวมถึงการเป็นนักออกแบบอิสระ ก่อนจะผันไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ซึ่งเป็นที่ๆทำให้เขาได้เกิดความเชื่อว่าบทบาทของนักออกแบบไม่ได้จำกัดอยู่
ภายใต้เงื่อนไขเชิงพาณิชย์เท่านั้น หากยังมีบทบาทอื่นๆ
ที่นักออกแบบสามารถ มีส่วนร่วมและผลักดันสังคมอีกด้วย
การผสมผสานบทบาทด้านวิชาชีพออกแบบวิชาการ
และการทำกิจกรรมทางด้านศิลปะและการออกแบบ
ทำให้นอกเหนือจากการที่สันติเป็นนักออกแบบสื่อสารให้กับ“แพรคทิเคิลสตูดิโอ”แล้ว
เขายังเป็นอาจารย์พิเศษให้กับคณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพและผู้บรรยายพิเศษให้กับมหาวิทยาลัยและองค์กรต่างๆ,
นักเขียนรับเชิญให้กับนิตยสารหลายฉบับ
เป็นคิวเรเตอร์นิทรรศการการออกแบบและการจัดแสดงผลงานส่วนตัวในรูปแบบนิทรรศการอีกด้วย
ด้วยบทบาทที่หลากหลาย ผลงานของสันติจึงมีบริบทที่หลากหลายคู่ขนานกันไป
ในช่วงเวลาเดียวกัน ในฐานะนักออกแบบอาชีพเขาเป็นผู้กำกับงานออกแบบสื่อสารให้กับ
นิทรรศการ Show Me Thai ที่จัดแสดง ณ Museum of Contemporary Art (โตเกียว) /
โครงการ The Mekong Art & Culture /นิทรรศการ Talk About Love
(หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ)การปรับปรุงสัญลักษณ์และอัตลักษณ์องค์กรให้พรรคประชาธิปัตย์ /
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร / หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ฯลฯ
ขณะเดียวกันสันติยังเริ่มต้นจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวของตัวเองทั้งในแกลเลอรี่และ
พื้นที่สาธารณะอย่าง นิทรรศการ “ไม่อาจจะใช่” (Yes, I am not)
และ Yes, we are not
ที่นำเสนอเกียวกับมุมมองของเขาต่อการสร้างวาทกรรมทางข้อมูลข่าวสาร
อีกทั้งนิทรรศการของเขายังเป็นภาพสะท้อนสถานะของนักออกแบบกราฟิกไทย
ที่สามารถนำเสนอเนื้อหาของตนเองออกสู่สาธารณะอีกด้วยรวมไปถึงการเป็นคิวเรเตอร์
ให้กับนิทรรศการออกแบบหลายนิทรรศการ เช่น
นิทรรศการ “Design cannot change (everything)”
ตัวอย่างผลงาน



แนวความคิดในการออกแบบงาน
ต้องเข้าใจง่ายและสื่อสารกับผู้รับสารได้อย่างดี และการที่จะเป็นนักออกแบบที่ดี
คือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดี และมีไหวพริบ
เหตุผลที่ชอบงานของคุณสันติ ลอรัชวี ?
เพราะเราคิดว่างานออกแบบของคุณสันติ ที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน
และไม่รก เรียบๆ คนที่ไม่ได้สนใจพวกงานออกแบบเท่าไรก็ ก็ต้องหันมามองและเล่นกับงานเข้าได้
ชอบเพราะอะไร ?
เป็นงานที่สามารถสื่อสารกับผู้รับสารได้ดีมาก เขาใช้แนวความคิดที่ไม่ต้องวุ่นวาย
ที่อยู่รอบตัวเรา มาใช้ในการออกแบบ และงานของเขาแต่ละชิ้น เขาจะคำนึงของผู้รับสาร
ส่งผลต่อผู้รับสารและสังคมส่วนร่วมอย่างไร?
บางงานอาจจะสามารถให้เราเข้าไปมีส่วนร่วมกับงานชิ้นนั้นได้ด้วย
จึงเป็นจุดเด่น และ จุดที่น่าสนใจของนักออกแบบคนนี้
เช่น งานออกแบบที่อยู่ตรงทางเข้าหอศิลปกรุงเทพ ที่เป็นเหล็ก
ถ้ามองจากมุมบนถึงจะเห็นเป็นTypography คนก็สามารถเข้าไปข้างในได้ ให้เห็นถึงโครงสร้างของมัน